ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการเตรียม อาหารปั่นผสม เพื่อให้อาหารสายยาง  (อ่าน 134 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 424
  • บริการโพสต์ หรือท่านที่ต้องการลงประกาศขายสินค้าผ่านอินเตอร์เนต เหมาะกับท่านที่ไม่มีเวลาลงโฆษณา *บริการโพสต์ ช่วยให้สินค้าท่าน หรือ โฆษณาโปรโมชั่นของท่าน
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอนการเตรียม อาหารปั่นผสม เพื่อให้อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง ให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ต้องทำโดยผู้ที่มีความชำนาญในการให้อาหารทางสายยาง เพราะกรรวห้อาหารทางสายยางนั้น จะต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะการให้อาหารทางสายยางอาจจะเกิดปัญหาได้ ในระหว่างการให้อาหาร ซึ่งหากมีปัญหาเช่น ผู้ป่วยเกิดสำลักอาหาร หรือเกิดอาการไอ หรืออาเจียนขณะให้อาหาร ผู้ดูแลจะต้องรีบแก้ไขทันที หรือควรหยุเใฟ้อาหารทันที


รวมไปถึงการนำสายยางเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะอาจจะทำให้เกิดแผลภายในร่างกายผู้ป่วยได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกในร่างกาย ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ทั้งนี้อาหารปั่นผสม จะต้องมีความสะอาด โดยนักโภชนาการจะเป็นผู้ออกแบบสูตร เพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วย ซึ่งในแต่ละโรคจะรับอาหารได้แตกต่างกันออกไป แต่รับอาหารในปริมาณที่แตกต่างกัน เพื่อให้เพียงต่อต่อความต้องการของร่างกาย

ซึ่งในขั้นตอนการเตรียมอาหารปั่นผสม บางครั้งผู้ดูแลอาจจะต้องมาเตรียมอาหาร เตรียมวัตถุดิบในการปรุงอาหารปั่นผสมเอง ซึ่งขั้นตอนหลัก ๆ ของการเตรียมอาหารปั่นผสมคือ ต้องต้มวัตถุดิบทุกชนิดให้สุกจนเปื่อย เพื่อที่จะได้ทำการปั่นได้ง่ายๆ ยกเว้นไข่ไก่ให้ต้มจนสุกดีแล้วยกออก ต่อมานำอาหารที่ต้มสุกแล้วใส่โถปั่น เติมน้ำต้มสุกหรือนมถั่วเหลืองให้ได้ปริมาณตามที่นักโภชนาการกำหนด หลังจากนั้นปั่นให้ละเอียด 2 – 3 นาทีจนมีความละเอียดมาก และจากนั้นนำมากรองผ่านกระชอน กรอกใส่ถุงภาชนะเก็บอาหาร


โดยภาชนะที่จะนำมาใส่อาหารปั่นผสมจะต้องล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้งสนิท และนำไปแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เวลาจะนำอาหารจากตู้เย็นมาให้คนไข้ ให้อุ่นด้วยการวางถุงเก็บอาหารลงในชามที่ใส่น้ำอุ่นจนหายเย็น จากนั้นจึงนำให้คนไข้ อาหาร 1 ถุงไม่ควรใช้เวลาให้เกิน 4 ชั่วโมง เพื่อความสดใหม่ของอาการ และคุณค่าทางสารอาหารที่จะได้รับอย่างครบถ้วน รวมไปถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย เมื่อรับประทานอาหารปั่นผสมเข้าไป จึงไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาเจียน อันเนื่องมาจากอาหารที่ไม่สะอาด หรือไม่สดใหม่นั่นเอง

ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ดูแลต้องระมัดระวังทุกครั้ง ไม่ว่าจะเตรียมอาหารปั่นผสมหรืออาหารทางการแพทย์ชนิดอื่นๆ คือเรื่องของความสะอาด ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะอาหารจะถูกลำเลียงไปยังกระเพาะอาหารหรือลำไส้ของผู้สูงอายุโดยตรงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่าอาหารสะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนใดๆ โดยผู้ดูแลจำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณพื้นที่เตรียมอาหารให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำอาหาร ล้างอุปกรณ์ให้สะอาดและลวกอุปกรณ์ด้วยน้ำเดือดทุกครั้งก่อนทำอาหาร ล้างมือให้สะอาด และตัดเล็บให้สั้นทุกครั้งก่อนทำอาหาร

เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากอาจจะมีการเจาะบริเวณหน้าท้อง ซึ่งอาหารจะต้องมีความสะอาด เพราะหากอาหารไม่สะอาด หรือผู้ดูแลไม่รักษาความสะอาด อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อย่างรุนแรงได้ เพราะฉะนั้น ทุกขั้นตอนในการให้อาหารทางสายยาง หรือแม้กระทั่งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ กผ้ต้องมีความสะอาดเป็นอย่างมาก เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ภายหลังจากการให้อาหาร