ผู้เขียน หัวข้อ: “สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด  (อ่าน 159 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 427
  • บริการโพสต์ หรือท่านที่ต้องการลงประกาศขายสินค้าผ่านอินเตอร์เนต เหมาะกับท่านที่ไม่มีเวลาลงโฆษณา *บริการโพสต์ ช่วยให้สินค้าท่าน หรือ โฆษณาโปรโมชั่นของท่าน
    • ดูรายละเอียด
โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (โรค CADs หรือ Coronary Artery Disease / Coronary Heart Disease) คือ กลุ่มของโรคที่แสดงความผิดปกติในส่วนหลอดเลือดหัวใจและส่งผลต่อการไหลเวียนปริมาณเลือดไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด ที่เป็นต้นเหตุของกลุ่มโรคนี้

    วิธีการสังเกตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ให้เหมาะสำหรับคุณ ได้แก่สัญญาณเริ่มต้นของโรคจากอาการที่สำแดง และอาการที่แสดงบนผิวหนัง


สัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดจากอาการที่สำแดง
   
อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจแตกต่างกันสําหรับผู้หญิงและผู้ชาย เช่นโดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการอื่น ๆ พร้อมกับความรู้สึกไม่สบายหน้าอกเช่น หายใจถี่ คลื่นไส้ และมีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยอาการที่เหมือนกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย คือ อาการเจ็บหน้าอก ความดันขึ้นหรืออาการวูบวาบบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 2-3 นาทีโดยเราสามารถจำแนกเพื่อระบุลักษณะของการเริ่มสัญญาณของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองต่อผู้ชายและผู้หญิง


สัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดจากอาการที่แสดงบนผิวหนัง

* มีอาการแบบโรคเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ หรือาจจะใช้ระยะเวลาเพื่อทุเลาอาการอย่างไม่ทราบสาเหตุ

⌕ อาการบวมที่เท้าและขาท่อนล่าง (อาการบวมน้ำ)
⌕ รอยคล้ำสีม่วงบนผิวบริเวณเท้า
⌕ รอยคล้ำหรือจ้ำแบบผื่นตาข่าย อาจเป็นสัญญาณ
⌕ ติ่งคอเลสเตอรอล (ลักษณะเนื้องอกสีส้มหรือสีเหลือง) ที่ผุดบนผิว
⌕ ตุ่มก้อนคลายผื่น หูด หรือเป็นเม็ดสีแดงเป็นปื้น
⌕ เล็บหรือปลายนิ้วมือบวมโค้ง
⌕ เส้นสีแดงหรือสีม่วงใต้เล็บของคุณ
⌕ กลุ่มก้อนโปรตีนงอกขึ้นมา (Systemic Amyloidosis)
⌕ การเปลี่ยนสีผิวบริเวณฝ่าเท้าหรือฝ่ามือเป็นสีแดง
⌕ ผื่นไข้รูมาติก (ผื่นแบนมีขอบไม่คัน)
⌕ ผื่นไข้คาวาซากิ (เป็นผื่นพร้อมไข้กับริมฝีปากแตกมีเลือดออก)หากมีลักษณะที่เข้าข่ายตามสัญญาณที่กล่าวมาเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนังหรือหากมีอาการของโรครุนแรง เช่น เจ็บปวด เกิดการอักเสบ คุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินโรคให้ได้ทันท่วงที และไม่ควรปล่อยผ่านหรือใช้ยาเพื่อระงับอาการโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

   
โรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถป้องกันได้โดยจัดการกับปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การเลือกกินอาหารที่ดีที่เป็นธรรมชาติต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน เค็ม และอาหารสำเร็จรูปหรือที่ถูกปรุงแต่งด้วยสารชูรส สารสังเคราะห์ทางเคมี ผ่านกรรมวิธีให้ความร้อน เป็นต้น การหยุดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการรับควันพิษ ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ ดูแลสุขภาพช่องปากให้ถูกสุขลักษณะ ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจํา ควบคุมภาวะ จัดการความเครียดเรื้อรัง ออกกําลังกายเป็นประจำ

    ฮอร์โมน Cortisol จะทำหน้าที่เผชิญหน้าและปรับความสมดุลเคมีในร่างกายต่อความเครียดในระยะสั้นและระยะยาว

    ฮอร์โมน DHEA จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับฮอร์โมน Cortisol คือ ฟื้นฟูระดับฮอร์โมน Cortisol ให้กลับมาสมดุลจากภาวะความเครียดบีบคั้นต่างๆ เพื่อให้กลไกร่างกายทำงานได้ปกติโดยเร็วที่สุด
    ผลข้างเคียงที่สำคัญเมื่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) เกิดความไม่สมดุลกับฮอร์โมน DHEA หรือเกิดภาวะเครียดเรื้อรังอย่างที่คุณไม่รู้ตัวที่จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบเผาผลาญร่างกายพัง โรคอ้วนลงพุง โรคกระดูกพรุน การแก่ก่อนวัย เกิดอารมณ์แปรปรวนหรือภาวะวัยทอง เกิดการอักเสบระดับเซลล์และผิวหนัง เช่น การเกิดสิวอักเสบและขึ้นเห่อ อาการผดผื่น อ่อนเพลียเหนื่อล้าเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพร่วงบาง เป็นต้น
    การดูแลสุขภาพเพื่อสร้างสมดุลระดับฮอร์โมน Cortisol และ DHEA ของคุณให้มีประสิทธิภาพรับมือกับความเครียดประจำวันได้ในเบื้องต้น ได้แก่

    ในปี 2562 โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDs) เป็นสาเหตุสําคัญติด 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตทั่วโลก โดยคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 17.9 ล้านคนในแต่ละปีนับจากประชากรโลกที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร (อายุต่ำกว่า 70 ปี) จากโรค CVDs แบะคิดเป็น 32% ของการเสียชีวิตทั่วโลก

    ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดจำนวน 350,922 ราย (อัตราผู้ป่วย 535 ต่อประชากร 100,000 คน) เสียชีวิตจำนวน 20,556 ราย (อัตราผู้ป่วย 31 ต่อประชากรแสนคน)
    โรคสำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

    ปี 2562 ประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จำนวน 355,671 ราย (อัตราผู้ป่วย 543 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้ป่วยเสียชีวิตจ านวน 34,728 ราย (อัตราตาย 53 ต่อประชากรแสนคน) และโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (Acute Stroke) เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 2 และการพิการเป็นอันดับ 2 จากสถิติทั่วโลก

    การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสําคัญและจำเป็นที่ช่วยป้องกันหรือรักษาติดตามการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีในระยะยาว สามารถคัดกรองโรคแฝงที่อาจจะเกิดจากพันธุกรรมได้

    การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดย่อมดีกว่าการรักษาโรค ทีนี้เมื่อคุณรู้วิธีการสังเกตอาการของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะแรกนั้นคือความโชคดีที่คุณรับรู้ภายในร่างกายของคุณในเบื้องต้น และการตรวจสุขภาพเพื่อยืนยันนั้นจะทำให้คุณแน่ใจในข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยการปรับการใช้ชีวิตของคุณเพื่อตัวของคุณเอง การเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ และการหยุดสูบบุหรี่และงดหรือลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถป้องกันการกระตุ้นภาวะตั้งต้นการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเส้นเลือดหรือการมีระดับคอเลสเตอรอลสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง



“สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/252