ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง แผ่นซับเสียง ดูดซับเสียงได้อย่างไร  (อ่าน 205 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 426
  • บริการโพสต์ หรือท่านที่ต้องการลงประกาศขายสินค้าผ่านอินเตอร์เนต เหมาะกับท่านที่ไม่มีเวลาลงโฆษณา *บริการโพสต์ ช่วยให้สินค้าท่าน หรือ โฆษณาโปรโมชั่นของท่าน
    • ดูรายละเอียด
เราจะพบว่าบางสถานที่ที่มีการ ติดตั้งแผ่นซับเสียง วัสดุซับเสียง บริเวณนั้นจะเงียบสงบและไร้เสียงสะท้อน ทำให้การพูดคุยกันหรือการประชุมไร้ปัญหาเสียงก้องรบกวน ไม่ว่าจะพูดคุยกันธรรมดาหรือว่าพูดผ่านไมโครโฟนและเครื่องขยายเสียง บรรยากาศภายในพื้นที่นั้นจะรู้สึกได้ถึงความสงบ ความมีสมาธิ ไม่ต้องตะเบ็งเสียงหรือตะโกนเพื่อให้เสียงสนทนาดังกว่าเสียงก้องเสียงสะท้อนที่รบกวน (กรณีไม่มีแผ่นซับเสียง)

แผ่นซับเสียง หนึ่งในสินค้า ฉนวนกันเสียง มีมากมายหลายรูปแบบและผลิตขึ้นจากวัสดุที่มีลักษณะเป็นโพรงหรือเป็นรูพรุนอยู่ด้านในแผ่น วัสดุที่นิยมนำมาผลิตแผ่นซับเสียงได้แก่ วัสดุประเภทใยแก้วแบบเส้นสั้นอัดแน่นประเภทความหนาแน่นต่ำ (96 kg/m3 หรือต่ำกว่า) วัสดุใยแก้วแบบเส้นสั้นอัดแน่นประเภทความหนาแน่นสูง (128 kg/m3 หรือสูงกว่า) วัสดุประเภทใยหิน (โดยทั่วไปมีความหนาเริ่มต้นที่ 50 mm) วัสดุประเภทใยพลาสติค เช่น เส้นใยโปลีเอสเตอร์ เส้นใยโพลีโพรไพลีน วัสดุจำพวกโพลียูรีเทน วัสดุจำพวกเยื่อกระดาษและเยื่อไม้ เป็นต้น

หลักการทำงานในการลดเสียงของแผ่นซับเสียงคือ คือเมื่อคลื่นเสียงเดินทางมาสัมผัสหรือกระทบกับแผ่นซับเสียง พลังงานเสียงส่วนหนึ่งจะเข้าไปเจอกับโพรงหรือรูพรุนในเนื้อวัสดุนั้นและกลายเป็นพลังงานความร้อนสะสมอยู่ในเนื้อวัสดุ ส่วนพลังงานเสียงที่เกินกว่าที่เนื้อวัสดุจะรับได้ก็จะทะลุผ่านแผ่นซับเสียงไปส่วนหนึ่ง พลังงานเสียงอีกบางส่วนก็จะสะท้อนกลับออกไป จากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเราจะพบว่าพลังงานเสียงส่วนหนึ่งโดนเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนในเนื้อวัสดุแผ่นซับเสียง ทำให้พลังงานเสียงที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นลดลง ส่งผลให้ระดับเสียงในห้องหรือพื้นที่ที่ใช้แผ่นซับเสียงมีความดังลดลงนั่นเอง

ที่ต้องทำความเข้าใจคือแผ่นซับเสียงจะใช้สำหรับลดเสียงรบกวนได้ดี ในกรณีที่เป็นเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้องปิด ที่มีพลังงานเสียงไม่มากจนเกินไปเท่านั้น และแผ่นซับเสียงที่ผลิตจากวัสดุต่างกัน ก็จะซับเสียงหรือลดเสียงได้ไม่เท่ากัน แม้ว่าตามเอกสารการทดสอบจะระบุว่าซับเสียงได้เท่ากันก็ตาม เนื่องจากการทดสอบนั้นกระทำในห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุมตัวแปร แต่สำหรับการใช้งานแผ่นซับเสียงในชีวิตประจำวันจริง ขนาดของห้องหรือพื้นบที่ สิ่งแวดล้อมต่างๆภายในห้อง รวมไปถึงระดับเสียงรบกวนภายในห้องนั้น ล้วนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูดกลืนเสียงของแผ่นซับเสียงทั้งสิ้น

จึงพอสรุปได้กว้างๆว่า การแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนภายในห้องหรืออาคารโดยใช้แผ่นซับเสียง จะได้ผลดีกว่าการติดแผ่นซับเสียงสำหรับแก้ปัญหาเสียงดังในห้องทำงานของเครื่องจักรหรือไลน์ผลิตในโรงงาน

 

ฉนวนกันเสียง แผ่นซับเสียง ดูดซับเสียงได้อย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/